• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บริการประชาชน
น้องพะยูน
13.33
น้องพะยูน
สวัสดีจร้าาา...วันนี้มีอะไรให้น้องพะยูน ช่วยคะ ถามน้องพะยูนมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้ค่ะ
13.33
 
ข้อมูลพื้นฐาน

ที่ตั้งและขนาด
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและมีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2540 และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว ตั้งอยู่เลขที่ 151/1 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสิเกา ประมาณ 7 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดตรัง ประมาณ 40 กิโลเมตร

อาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา
ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามัน

เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว มีเนื้อที่ทั้งหมด 97.40 ตารางกิโลเมตร หรือ 60,875 ไร่ แยกเป็นแต่ละหมู่บ้านได้ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านเขาไม้แก้ว จำนวนประมาณ 4,520 ไร่
หมู่ที่ 2 บ้านศาลาเทวดา จำนวนประมาณ 3,300 ไร่
หมู่ที่ 3 บ้านแหลมไทร จำนวนประมาณ 1,880 ไร่
หมู่ที่ 4 บ้านบางค้างคาว จำนวนประมาณ 6,150 ไร่
หมู่ที่ 5 บ้านแหลมมะขาม จำนวนประมาณ 1,980 ไร่
หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งขี้เหล็ก จำนวนประมาณ 6,940 ไร่
หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งทอง จำนวนประมาณ 1,990 ไร่
หมู่ที่ 8 บ้านหูหนาน จำนวนประมาณ 2,170 ไร่
หมู่ที่ 9 บ้านบ่อหว้า จำนวนประมาณ 2,820 ไร่
พื้นที่ป่าชายเลน จำนวนประมาณ 29,125 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้วโดยทั่วไป มีหลายลักษณะทั้งที่ราบและที่ลุ่มและที่ชายทะเล พื้นที่ทางตะวันออกเป็นที่ราบค่อนข้างสูงเป็นที่ราบมีภูเขา ทิศตะวันตกและติดกับชายทะเล

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุมฤดูร้อน มี 2 ฤดู
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือน เมษายน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึงเดือน ธันวาคม

มีครอบครัวหนึ่ง ได้ปลูกบ้านอยู่ที่เชิงเขา มีผัวชื่อทอง เมียชื่อจันทร์ ผัวเมียคู่นี้เป็นคนขยัน ได้ปลูกสับปะรดเป็นจำนวนมากที่เชิงเขา แต่ยายจันทร์เมียของตาทองเป็นคนขี้ด่า ใครไปเอาอะไรของแกไม่ได้ แกด่าเสมอ และเด็กๆ สมัยนั้นได้เรียกติดปากว่า ไปจันทร์ทอง ภูเขาลูกนั้นจึงได้เรียกติดปากกันว่า จันทร์ทองจนทุกวันนี้


ยายจันทร์กับตาทอง ได้มีลูกคนหนึ่ง เป็นผู้ชายชื่อว่า นุ้ย พอโตขึ้น ก็ได้ไปทำไร่ที่เชิงเขาอีกลูก ซึ่งอยู่ใกล้กันและภูเขาลูกนั้นเป็นภูเขางาม อากาศดี มีถ้ำน่าเที่ยว ทางขึ้นเป็นภูเขาเดินได้สะดวกและลุงนุ้ยแกได้สร้างขนำขึ้นที่เชิงเขาหลังหนึ่ง ลุงนุ้ยแกเป็นคนใจดี เด็กๆ ชอบไปเที่ยวภูเขาบ้านลุงนุ้ย ชาวบ้านจึงเรียกภูเขานั้นว่าเขาลุงนุ้ย ปัจจุบันเรียกว่า "เขานุ้ย"

ลุงนุ้ยแกเป็นคนเล่นลูกลม และได้ขึ้นไปโต้ลมบนภูเขา และได้ตัดไม้บนภูเขามาทำเพื่อโต้ ลมของลูกลม แต่บังเอิญบนภูเขาลูกนั้นมีไม้เนื้อแข็งและไม้ชนิดเดียวไม่มีไม้อื่นปนอยู่เลย และไม้นั้นมีเนื้อลายสวยงามมาก เมื่อปอกเปลือกออกแล้ว เหมือนงาช้างและมีลายสวยงามมาก แววคล้ายกับแก้วจนเป็นที่เลื่องลือของไม้นั้นของคนทั่วไป และภูเขาลูกนั้นยังมีถ้ำที่สวยงาม ปัจจุบันมีพระพุทธรูปอยู่ด้วยในถ้ำ จนมาถึงสมัยของขุนศรีสงคราม แกเอามาทำไม้เท้า เพราะสมัยนั้นเขานิยมไม้เท้ากัน เมื่อพวกขุนพวกหลวงรู้ว่า มีไม้ลายสวยก็มาเอากันไปทำไม้เท้า และบุคคลทั้งหมดนี้เขาได้ขนานนามภูเขาลูกนี้ว่า "เขาไม้แก้ว" และชาวบ้านได้เรียกติดต่อกันจนถึงปัจจุบันว่า "เขาไม้แก้ว" และปัจจุบันภูเขาลูกนี้ยังเป็นที่โต้ลูกลมของชาวบ้านจนทุกวันนี้
วิสัยทัศน์ (Vision)
"การศึกษาก้าวไกล ใส่ใจคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจที่มั่นคง
ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์"
พันธกิจ/ภารกิจ (Mission)
1. ส่งเสริมการศึกษา สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น ฟื้นฟูอนุรักษ์ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่คู่ท้องถิ่น
2. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชน ในงานด้านสังคมสงเคราะห์และการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ กับความต้องการของประชาชนตามศักยภาพของ อบต.
4. สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สมดุลและยั่งยืน โดยเน้นด้านการเกษตรกรรม ให้เป็นตลาดผลผลิตทางการเกษตร พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
5. พัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล ในงานด้านการป้องกันและรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. พัฒนาและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในด้านการเมือง การบริหาร และการปกครอง ให้กับประชาชน สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินการระหว่างภาครัฐกับประชาชนในรูปแบบต่างๆ พัฒนาบุคคลากร และสร้างระบบบริหารจัดการภาครัฐที่ดีใน อบต.
ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ใช้แนวคิดที่ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฉบับที่ 8-10 โดยยังคงยึดหลัก "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ที่ให้ "คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา" และ "สร้างสมดุลการพัฒนา" ในทุกมิติ
วิสัยทัศน์ของประเทศไทย
"สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง"
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
3. ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
4. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
5. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
6. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน